AMD Athlon (Classic)
โครงสร้างที่ล้ำสมัยกว่า และมีความเร็ว ในทุกๆ
ด้านเหนือกว่าซีพียูที่ Intel ที่อยู่ให้ท้องตลาด
ณ ขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านของหน่วยประมวลผลเลข Floating
point ซึ่ง AMD ไม่เคยทำได้เร็วเท่าของ Intel
เลยแต่คราวนี้ก็ล้ำนำหน้าไปแล้วด้วยเช่นกัน
ส่วนราคาก็ยังคงต่ำกว่าของ Intel อยู่เสมอเมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นอื่นๆ ของ Intel
ที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน
Athlon มีความเร็วเริ่มต้นที่
500 MHz ซึ่งเริ่มแรกเมื่อออกสู่ตลาดจะมีรุ่น
500,550, และ 600 จนถึง 850
MHz แล้ว ซึ่ง Athlon
รุ่นแรกๆ
จะผลิตโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 0.25 ไมครอน ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบตลับ SECC
และใช้เทคโนโลยีระบบบัสแบบ EV6 ซึ่งสามารถทำงานทั้งขอบขาขึ้นและลงของสัญญาณนาฬิกาความถี่
100 MHz จึงเสมือนว่าทำงานที่ระบบบัส
200MHz พร้อมทั้งมีคำสั่ง
MMX และ 3DNow!
ที่มีการปรับปรุงใหม่ให้มีประสิทธิ์ภาพในการทำงานด้านสามมิติที่ดีขึ้นโดยมีหน่วยความจำแคชรระดับ
1จำนวน 64+64KB
และแคชระดับ 2 จำนวน 512KB
อยู่บนตัวซีพียูแต่ทำงานที่ความเร็วครึ่งหนึ่งของซีพียู
แต่ในรุ่นหลังซึ่งมีความถี่สูงขึ้นก็ได้ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตไปเป็น 0.18
ไมครอน เหมือนกับที่ Intel
เช่นเดียวกับที่ใช้ใน Pentium
III ซีพียูรุ่น Athlon
ของ AMD เป็นที่ฮือฮามากตั้งแต่เมื่อปลายปี1999เนื่องจากใครๆ
ก็ช่วยกันลุ่นให้ AMD ทำได้ทำสำเร็จเพื่อไม่ให้
Intel ครองตลาดอยู่แต่เพียงผู้เดียวอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม Athlon ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของชิปเซ็ตและเมนบอร์ดที่สนับสนุน
เนื่องจากแต่เดิมจะต้องพึ่งพาอาศัยให้ผู้อื่นคือบริษัทในไต้หวันอย่าง VIA และ SiS ผลิตให้
ทำให้ขาดแคลนและเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการทำตลาด (แถมยังมาเจอแจ็คพ็อตจากแผ่นดินไหวในไต้หวันเมื่อปลายปี
พ.ศ. 2542อีก!)
หรือไม่ก็ใช้ชิปเซ็ต AMD – 750 ของทาง AMD เอง
แต่เมื่อซีพียูเริ่มได้รับความนิยมก็มีผู้เริ่มหันมาผลิตเครื่องและเมนบอร์ดโดยใช้ซีพียูรุ่นนี้
(Athlonจำเป็นต้องใช้เมนบอร์ดที่ทำมาสำหรับซีพียูรุ่นนี้โดยเฉพาะ
จะใช้กับเมนบอร์ดSlot1 ทั่วไปไม่ได้
เนื่องจากมีโครงสร้างการออกแบบที่ไม่เหมือนใคร แม้นจะใช้สล็อต
ในลักษณะที่คล้ายกันกับ Slot1 ของIntel
ก็ตาม แต่ก็ไม่เหมือน
จึงตั้งชื่อเป็น Slot A ซึ่งมาจากแบบของชิป
Alpha จาก Compaq/Digital
ซึ่งทีมวิศวกรของ AMD ได้ต้นแบบชิปมาจากชิปดังกล่าว
- AMD Athlon (thunderbird)
เป็นรุ่นที่ได้การพัฒนาจาก Athlon Classic (รุ่นแรก)
ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 0.18 ไมครอนตัวชิปเป็นแบบ PGA โดยในรุ่นนี้ได้ลดแคชระดับ 2 ลงเหลือ 256
KB แต่อยู่บนซีพียูชิ้นเดียวกับตัวชิปที่เรียกกันว่า
on die จึง
มีความเร็วเทียบเท่าซีพียูโดยใช้กับเมนบอร์ดที่ใช้ Socket 462 หรือ Socket
A แต่ยังคงใช้ระบบบัสแบบ EV6 ซึ่งสามารถทำงานทั้งขอบขาขึ้นและลงของสัญญาณนาฬิกาความถี่
100 MHz จึงเสมือนว่าทำงานที่ระบบบัส200MHz
เหมือนเดิม
ต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้นโดยใช้สัญญาณนาฬิกาความถี่133 MHz จึงเสมือนว่าทำงานที่ระบบบัส
266MHz และสามารถสนับสนุนหน่วยความจำหลักแบบ
DDR SDRAM ทั้งแบบ PC1600
และPC2100
ซึ่งทำให้มีประสิทธิ์ภาพสูงขึ้นมากกว่าเดิม
- K6
เป็นซีพียูรุ่นแรกในการพัฒนาการของซีพียูในรุ่นที่ 6 ของ AMDและได้ใส่ความสามารถMMX เข้าไปด้วย ทำให้เมื่อเทียบชั้นกับPentium รุ่นที่เป็น MMX แล้วเหนือกว่าเล็กน้อยโดยผ่ายนอกยังคงใช้บัส 66 MHz และแคชขนาด 256 KB ถึง1MB แต่ความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 166, 200, 233 และ 266 MHz
ตามลำดับ ส่วนเมนบอร์ด ซ็อคเก็ต และชิพเซ็ตจะใช้เหมือนกับ Pentium ทุกประกา
เป็นซีพียูรุ่นแรกในการพัฒนาการของซีพียูในรุ่นที่ 6 ของ AMDและได้ใส่ความสามารถMMX เข้าไปด้วย ทำให้เมื่อเทียบชั้นกับPentium รุ่นที่เป็น MMX แล้วเหนือกว่าเล็กน้อยโดยผ่ายนอกยังคงใช้บัส 66 MHz และแคชขนาด 256 KB ถึง1MB แต่ความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 166, 200, 233 และ 266 MHz
ตามลำดับ ส่วนเมนบอร์ด ซ็อคเก็ต และชิพเซ็ตจะใช้เหมือนกับ Pentium ทุกประกา
- AMD Athlon4
แอธลอน4ตัวแรกที่เปิดตัวออกมาไม่ใช่รุ่นสำหรับเดสก์ทอปแต่กลับเป็นว่ากลายเป็นซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊คโดยมี 4 รุ่นแรกที่วางตลาดนั้น จะที่ความเร็วตั้งแต่ 850 , 950 และ1 GHz ซึ่งทั้ง 4 รุ่นนั้นทำงานที่แรงดันไฟฟ้า 1.4 โวลต์ และทั้งหมดทำงานที่ FSB200 MHzโดยใช้หน่วยความจำแบบ DDR SDRAM สำหรับขนาดของแคชภายในตัว Athlon 4 ยังคงไม่แตกต่างไปจากเดิม โดยใน Athlon 4 นี้ ยังคงมี แคช L1 อยู่ 64 KB เหมือนเดิมส่วนแคช L2 ก็ยังคงมีขนาดเท่าเดิมคือ128 KB และยังคงมีคุณสมบัติเหมือนเดิมที่ว่าแคช L1 และ L2 นั้นจะมีข้อมูลที่ไม่ซ้ำซ้อนกันนั้นหมายความว่าขนาดแคชโดยรวมของ Athlon 4 ก็คือ 384 KB
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น